Agroecology for safe school lunch

ความเป็นมาของโครงการ

เนื่องจากในปี 2560-2561 มูลนิธิการศึกษาไทยได้ทำการตรวจพืชผักและผลไม้ที่ใช้สำหรับทำอาหารกลางวันใน 55 โรงเรียนจาก 4 ภูมิภาค พบว่ามีผักผลไม้ถูกปนเปื้อนด้วยสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทรอยด์ พบร้อยละ 80 ของตัวอย่างทั้งหมด และพบสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในปัสสาวะนักเรียนร้อยละ 99 จากตัวอย่าง 500 คน

ส่งผลให้มีคำสั่งจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้สถานศึกษาภายใต้กระทรวงศึกษาธิการปลอดจากสารกำจัดศัตรูพืช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ปัจจุบันพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถหาผลผลิตที่ปราศจากสารเคมีทางการเกษตรในตลาดท้องถิ่นได้ และขาดข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งผลิตอาหารอินทรีย์ หรืออาหารปลอดภัย และยังขาดนโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจน เพื่อให้เด็กนักเรียนและผู้ป่วยในโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยได้

ทางมูลนิธิการศึกษาไทยจึงได้พัฒนาโครงการ นิเวศเกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่ปลอดภัยขึ้น เพื่อนำร่องในการพัฒนาและขับเคลื่อนในเชิงระบบให้ครอบคลุมสถานศึกษาทุกระดับในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย และจังหวัดเหลาก่าย ประเทศเวียดนาม ให้เป็นต้นแบบในการขยายผลทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาคต่อเนื่องไป

เป้าหมาย และวัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความสามารถของเกษตรกรที่ทำการเกษตรเชิงนิเวศ ในการผลิตอาหารที่ปราศจากสารเคมี (ผักเนื้อสัตว์และอื่น ๆ) เพื่อจำหน่ายให้กับสถานศึกษาในทุกระดับและโรงพยาบาล
  2. พัฒนาตลาดออนไลน์ที่มั่นคงสำหรับเกษตรกรและระบบการควบคุมคุณภาพและการกระจายอาหารไปยังโรงเรียนและโรงพยาบาลเป้าหมาย
  3. เผยแพร่กระบวนการจัดการไปยังผู้กำหนดนโยบายและเครือข่ายระดับภูมิภาคและระดับชาติ
    พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการ: จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย อำเภอสารภี และอำเภอสันกำแพง
    ระยะเวลาโครงการ: มิถุนายน 2022 – มิถุนายน 2024
    ผู้รับผิดชอบโครงการในประเทศไทย: มูลนิธิการศึกษาไทย (Thai Education Foundation)
    ผู้สนับสนุนโครงการ: The Field Alliance, Agroecology Fund, FAO

กิจกรรมหลัก

  1. การประชุมพัฒนากรอบหลักสูตรนิเวศเกษตรเพื่อการอบรมเกษตกรและโรงเรียนในระดับภูมิภาค (ไทย สาธารประชาธิปไตรประชาชนลาว เวียดนาม FAO)
  2. การประชุมพัฒนาหลักสูตรนิเวศเกษตรในประเทศไทย และเวียดนาม
  3. การประชุมพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลและ แอปพลิเคชันมือถือสำหรับเกษตรกรและโรงเรียนระดับภูมิภาค
  4. การฝึกอบรมวิทยากรแกนนำของประเทศไทย (ครู กศน. โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาไทย
  5. การพัฒนาตลาดออนไลน์และการฝึกอบรมการใช้ เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเพื่อการขายให้แก่ศูนย์ดิจิตัลชุมชนและสถานศึกษา โดยการสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษา
  6. การอบรมเกษตรกร สถานศึกษา ในด้านนิเวศเกษตร และการใช้แอปพลิเคชันผ่านศูนย์การศึกษานอกระบบและศูนย์ดิจิตัลชุมชน
  7. การประชาสัมพันธ์สารสนเทศและการประชุมจัดทำนโยบายของประเทศ (ไทย/เวียดนาม)
  8. การประชุมแลกเปลี่ยนโครงการในระดับภูมิภาค

หน่วยงานความร่วมมือ

  • มูลนิธิการศึกษาไทย
  • สำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
  • กระทรวงศึกษาธิการ: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • สำนักงานเกษตร ปศุสัตว์ ประมง จังหวัดเชียงใหม่
  • สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่
  • องค์กร The Field Alliance
  • องค์การสหประชาชาติด้านอาหารและการเกษตร (FAO)
  • เครือข่ายผู้ผลิตอาหารปลอดสารพิษ (เนื้อสัตว์/ผัก/ผลไม้)
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • มูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
  • กองทุนนิเวศเกษตร

กลุ่มผู้รับผลประโยชน์โดยตรง

  • โรงเรียนและโรงพยาบาล
  • ครูและนักเรียน
  • เกษตรกรปลอดสารเคมี
  • Young Smart Farmer
  • ผู้สูงวัย
  • ผู้ตกงานและผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
  • มหาวิทยาลัย
  • หน่วยงานระดับจังหวัด
en_USEnglish